การประหยัดพลังงานไฟฟ้าในครัวเรือนควรเริ่มต้นกันตั้งแต่การเลือกซื้อ เครื่องใช้ไฟฟ้ามาใช้งานเพราะการพิจารณาเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างมีหลักเกณฑ์ ย่อมจะยังผลให้เกิดการประหยัดพลังงาน และประหยัดเงินค่าไฟ ซึ่งวิธีการประเมินคุณค่าของเครื่องใช้ไฟฟ้าก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อมีข้อ แนะนำดังนี้
การเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า
1. ตรวจดูว่าตัวถังเครื่องใช้ไฟฟ้า มีรอยขีดข่วน ชำรุด บุบ สีถลอก มีตำหนิที่จุดใดหรือไม่
2. ตรวจดูที่สายไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะซื้อว่าฉนวนมีรอยถลอกเนื่องจากหนูกัด แมลงสาบแทะหรือไม่ สายไฟกับปลั๊กต่อกันสนิทหรือไม่
3. ตรวจดูว่าสายไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นสายไฟที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน อุตสาหกรรมหรือไม่ โดยดูจากยี่ห้อที่ประทับบนสายไฟต้องชัดเจน มีเครื่องหมายมาตรฐานมอก. และต้องเป็นสายไฟที่สามารถทนกระแสสูงสุดของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นได้
4. สอบถามราคาของเครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่นที่จะซื้อ เปรียบเทียบกัน 3-4 ร้าน ก่อนตัดสินใจ
5. ตรวจดูเครื่องใช้ไฟฟ้าเสริมประกอบที่มีมากับเครื่องใช้ไฟฟ้าว่ามีครบตามรายการหรือไม่
6. ตรวจดูว่าเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นใช้กับแรงดันไฟฟ้าในบ้านเราคือ ระดับแรงดัน 220 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิร์ต (Hz.) หรือไม่
7. ดูว่ากำลังไฟฟ้าที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นว่าใช้เท่าไร เปรียบเทียบกับขนาดและรุ่นเดียวกันกับยี่ห้ออื่น ๆ
8. ตรวจสอบดูว่าเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นมีใบรับประกันคุณภาพสินค้าหรือไม่ ระยะเวลาที่ประกันนานเท่าใด การรับประกันครอบคลุมขอบเขตมากน้อยขนาดไหน
9. ตรวจดูว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะซื้อ มีคำแนะนำหรือคู่มือวิธีการใช้แนบมาให้ด้วยหรือไม่ หากไม่มีต้องทวงถามจากผู้ขายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ซื้อมาจากร้าน ถ้าเป็นของใหม่ก็ควรมีคู่มือการใช้และใบรับประกันคุณภาพแนบมาด้วย ผู้ใช้ควรอ่านเอกสารคู่มือให้เข้าใจและปฏิบัติตามให้ถูกต้อง สินค้าบางอย่างควรมีเจ้าหน้าที่มาแนะนำสาธิตการใช้ให้ด้วย ทำให้สามารถใช้เครื่องได้อย่างถูกต้องเพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าหากใช้ถูกวิธี แล้ว นอกจากจะทำให้อายุการใช้งานยาวนานขึ้นแล้ว ยังทำให้สามารถประหยัดการใช้ไฟฟ้าอีกด้วย
10. หากทำได้ควรทดลองเสียบเครื่องใช้ไฟฟ้าดูว่าเครื่องทำงานปกติหรือไม่ ปลั๊กเสียบกับเต้ารับหลวมเกินไปหรือไม่
11. สอบถามถึงความพร้อมของอะไหล่ และอัตราค่าบริการหากพ้นระยะเวลาการประกันแล้วทางบริษัทฯ คิดกับลูกค้าอย่างไร
12. ตรวจดูว่าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะซื้อเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นตามมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือผ่านการรับรองจากสถาบันใดหรือไม่ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในท้องตลาดมีมากมายหลายยี่ห้อ ผู้ผลิตพยายามโฆษณาสินค้าของตนเพื่อให้ติดหูติดตาผู้บริโภค ฉะนั้น ผู้บริโภคที่ดีควรรู้จักการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการที่ได้มาตรฐานและความปลอดภัยจากการใช้
ที่มา : www.kitchen-form.com
การใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย
1. ทุกครั้งที่ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าขอให้ตรวจสอบสายไฟและเต้าเสียบปลั๊กไฟของเครื่องว่าชำรุดหรือไม่
2. หลีกเลี่ยงการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าไปใช้ในบริเวณที่ชื้นแฉะหรือฝนสาดถึง
3. เมื่อจะเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า ต้องดูให้แน่ใจว่าไม่ได้เปิดสวิตช์เครื่องอยู่ เมื่อเลิกใช้ให้ปิดสวิตช์ที่เครื่องใช้ไฟฟ้าก่อนแล้วจึงถอดปลั๊ก
4. อย่าวางเครื่องใช้ไฟฟ้าไฟฟ้าที่มีความร้อนไว้ใกล้วัสดุติดไฟ เช่น วางโคมไฟไว้ใกล้ผ้าม่าน
5. อย่าแตะต้องอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าในขณะที่ตัวเปียก
6. หากฉนวนครอบสวิตช์ หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุดควรซ่อมแซมให้เรียบร้อย
7. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีเปลือกหุ้มภายนอกทำด้วยโลหะทุกชนิด เช่น ตู้เย็น หม้อหุงข้าว เตาไมโครเวฟ เตารีด เครื่องซักผ้า เครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้น ต้องติดตั้งสายดิน
8. อย่านำสิ่งของวางบนเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือใช้ผ้าคลุมหรือตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าในที่อับอากาศ เพราะจะทำให้ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ชำรุดง่าย และกินไฟมาก และอาจเกิดเพลิงไหม้ได้
9. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมาก เช่น หม้อหุงข้าว เครื่องซักผ้า เตาไฟฟ้า ควรเป็นเต้ารับเดี่ยว หลีกเลี่ยงการใช้ร่วมเต้ารับกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น
10. อย่าใช้ขั้วต่อแยกเสียบปลั๊กหลายทาง อาจเป็นการใช้ไฟเกินกำลังเกิดไฟไหม้ได้
11. อย่าใช้สายไฟลอดใต้เสือหรือพรหม หรือปล่อยให้ของหนักบีบทับสายไฟ เพราะอาจทำให้ฉนวนแตกชำรุด
12. การเดินสายไฟชั่วคราวไปใช้งานภายนอกอุปกรณ์ต่างๆ ต้องเป็นชนิดกันน้ำและทนแสงแดดได้ วงจรไฟฟ้าหรือเต้ารับนั้นต้องมีการติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว
13. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ภายนอกอาคารควรเป็นชนิดกันน้ำได้
14. มันทำความสะอาดและบำรุงรักษาพัดลมให้ใช้งานได้ดี เพราะพัดลมที่มีคุณภาพต่ำหากเปิดทิ้งไว้นานๆมอเตอร์จะรอแล้วเกิดไฟไหม้ได้
15. อย่าใช้ลวดทำราวตากผ้าขึงผ่านหรือพาดสายไฟฟ้า
16. อย่าใช้บันไดโลหะในการซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยไม่สวมรองเท้ายางหรือรองเท้านิรภัยสำหรับงานไฟฟ้า
17. ติดตั้งเสาอากาศทีวีห่างจากสายไฟไม่น้อยกว่า 3 เมตร หรือในระยะที่ล้มแล้วไม่โดนสายไฟ
18. อย่าใช้น้ำมันไวไฟล้างเครื่องใช้ไฟฟ้าในขณะที่ยังเสียบปลั๊กอยู่
19. ห้ามเปิดหรือปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อมีการรั่วไหลของก๊าซหุงต้มภายในบ้าน
20. เมื่อไฟฟ้าดับ ให้ปิดสวิตช์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดที่เปิดค้างอยู่ทันที รวมถึงถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความเย็น เช่น ตู้เย็น หรือเครื่องปรับอากาศ และเปิดซ้ำหลังจากนั้นอย่างน้อย 3 นาที
21. อย่าแก้ไขไฟฟ้าเองโดยไม่มีความรู้ความชำนาญเรื่องไฟฟ้าเพียงพอ
22. ฝึกฝนให้รู้จักวิธีแก้ไขและป้องกัน รวมทั้งการช่วยเหลือปฐมพยาบาลเมื่อมีอุบัติเหตุทางไฟฟ้าเกิดขึ้น
ข้อควรระวังในขณะช่วยเหลือผู้ถูกไฟฟ้าดูด
1. อย่าใช้มือเปล่าแตะต้องตัวผู้ประสบภัยเด็ดขาด
2. รีบหาทางตัดกระแสไฟฟ้าโดยเร็ว
3. หากมีน้ำขัง ห้ามลงไปยืนในน้ำเด็ดขาด
4. ใช้วัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า เช่น ผ้า ไม้แห้ง เชือกแห้ง สายยาง พลาสติกแห้งสนิท เขี่ยสายไฟให้หลุดจากตัวผู้ประสบภัย
5. สวมถุงมือยางหรือพันมือด้วยผ้าแห้งให้หนา ผลัก ดัน ฉุด ให้ผู้ประสบภัยหลุดออกมาโดยเร็ว
การช่วยเหลือเบื้องต้นโดยวิธีปฐมพยาบาล
1. หากหัวใจหยุดเต้นให้ใช้วิธีนวดหัวใจภายนอกด้วยเอามือ กดตรงหัวใจให้ยุบลงไป 3-4 เซนติเมตร เป็นจังหวะเท่าจังหวะการเต้นของหัวใจ ผู้ใหญ่วินาทีละ 1 ครั้ง เด็กเล็กวินาทีละ 2 ครั้ง นวด 10-15 ครั้งเอาหูแนบฟังครั้งหนึ่ง
2. หากไม่หายใจให้ใช้วิธีเป่าลมเข้าทางปากหรือจมูกของผู้ป่วยดังนี้
การเป่าปาก จับผู้ป่วยนอนหงาย ใช้หัวแม่มือง้างปลายคางให้ผู้ป่วยให้ปากอ้าออก หากมีเศษอาหารหรือวัสดุใดๆให้ล้วงออกให้หมด แล้วจับศีรษะให้เงยหน้ามากๆ ประกบปากกับผู้ป่วยให้สนิทแล้วเป่าลมเข้าไปอย่างแรง จนปอดผู้ป่วยขยายออก แล้วปล่อยให้ลมหายใจของผู้ป่วยออกเอง แล้วเป่าอีกที ทำเช่นนี้เป็นจังหวะ เท่ากับจังหวะหายใจปกติ ผู้ใหญ่นาทีละ 12 ถึง 15 ครั้ง เด็กเล็กนาทีละ 20 ถึง 30 ครั้ง ถ้าเป่าปากไม่ได้ให้ปิดปากผู้ป่วยแล้วเปล่าเข้าทางจมูกแทน
ถ้าผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นและไม่หายใจด้วย ให้นวดหัวใจสลับกับการเป่าปาก ถ้ามีผู้ช่วยเหลือเพียงคนเดียวก็ให้เป่าปาก 2 ครั้งสลับกับการนวดหัวใจ 15 ครั้ง ถ้ามีผู้ช่วยเหลือ 2 คน ให้นวดหัวใจสลับกับการเป่าปาก เป่าปาก 1 ครั้งนวดหัวใจ 5 ครั้ง การปฐมพยาบาลช่วยให้ฟื้นนี้ ต้องรีบทำทันที หากช้าเกินกว่า 4-6 นาที โอกาสที่ฟื้นจะมีน้อย ขณะพาไปส่งแพทย์ก็ควรทำการปฐมพยาบาลไปด้วยตลอดเวลา
ในการใช้ไฟฟ้า ขอให้ทุกคนคำนึงถึงความปลอดภัยและอย่าประมาทโดยเด็ดขาด ติดตั้งและแก้ไขระบบไฟฟ้าโดยผู้ที่มีชำนาญ ศึกษาการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสม ตรวจเช็คอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพดีก่อนการใช้งาน เพราะพลาดเพียงครั้งเดียว อาจไม่มีโอกาสแก้ตัวเป็นครั้งที่ 2
ข้อมูลจาก : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย